📔End of "This" Journey

🍀タスク②「私に言ってるの?」


            สวัสดีค่า เจอกันรัวๆเลยช่วงสุดสัปดาห์ สาเหตุก็เพราะเราเพิ่งว่างจากฮัปเปียวและงานคาราโอเกะต่างๆ เลยได้โอกาสเขียนบล็อกติดๆกันค่ะ 👍

            ในคาบที่ผ่านมาเราได้เรียนกับอาจารย์พิเศษชาวญี่ปุ่นค่ะ นอกจากวิชาความรู้ที่ได้รับกันอย่างเต็มอิ่ม อีกสิ่งหนึ่งที่ยังคงประทับตราตรึงในใจของผู้ที่เข้าเรียนทุกคนก็คือ..なごり雪 เพลงเพราะๆที่ท่านอาจารย์นำมาสอนในคาบนั่นเองค่ะ! ถ้าถามว่าตราตรึงใจกันขนาดไหน เรียกได้ว่าขอแค่มีคนร้องนำขึ้นมา คนที่เหลือก็จะประสานเสียงกันร้องทันทีค่ะ 555555 JP chorus ต้องมาแล้วนะจังหวะนี้

 ชาวเอกญี่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา  

เดี๋ยวหาว่าเราโม้ ไปลองฟังกันดูดีกว่าค่ะ 
เพราะจริงๆเด้อ ยิ่งท่อนฮุคนี่คือติดหูมาก 555 
V
V

            อ่ะๆ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าเราเรียนมา 3 ชั่วโมงได้มาแค่เพลงนะคะ เพราะนอกจากเพลงแล้ว เราก็มีความรู้เล็กๆน้อยๆที่ได้มาจากคาบเรียนที่ผ่านมาฝากเพื่อนๆอีกเช่นเคยค่ะ

― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ―

            ในคาบที่ผ่านมาเราเรียนกันทั้งหมด 2 เรื่องค่ะ คือ 敬語 และ 独り言 ซึ่งทั้งสองเรื่องมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ผู้รับสาร หรือ 聞き手 ค่ะ 

            敬語(けいご)  หรือ คำสุภาพ แบ่งออกเป็นหลายประเภท
            1) 尊敬語(そんけいご)หรือ คำยกย่อง เป็นคำที่ใช้ยกย่องการกระทำของผู้ที่กล่าวถึง
            2) 謙譲語(けんじょうご)หรือ คำถ่อมตัว เป็นคำที่ใช้ทำให้การกระทำของผู้ที่กล่าวถึงให้ดูด้อยลง เพื่อยกย่องคนที่เกี่ยวข้องกับการกระทำนั้น
            3) 丁寧語(ていねいご)หรือ คำสุภาพ เป็นคำที่ใช้ยกย่องคู่สนทนา
            4) 丁重語(ていちょうご)หรือ คำสุภาพขั้นสูง เป็นคำที่ใช้ทำให้การกระทำของผู้พูดให้ดูด้อยลง เพื่อยกย่องคู่สนทนา
            5) 美化語(びかご)หรือ คำไพเราะ เป็นคำที่ทำให้ภาพรวมของคำพูดของผู้พูดมีความไพเราะมากขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการเติม「お・ご」เช่น お酒(おさけ)、ご褒美(ごほうび)
            6) 改まり語(あらたまりご)หรือ คำไวพจน์ระดับสุภาพ เป็นคำที่มีความเดียวกับคำปกติ แต่ใช้เพื่อให้เกิดความสุภาพ เช่น  本日(ほんじつ)少々(しょうしょう)

            จะเห็นได้ว่า นอกจาก 美化語 และ 改まり語 แล้ว คำสุภาพประเภทอื่นๆนั้น ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคู่สนทนาหรือคนที่เรากล่าวถึงค่ะ

“แล้วจะเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม?”

            การเลือกใช้ 敬語 ต้องคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง ได้แก่ 伝達内容(素材)และ 対者(聞き手)ค่ะ

            伝達内容(素材)คือ สารหรือเนื้อหาที่เราจะพูดค่ะ ในส่วนนี้เราต้องดูว่าเรากล่าวถึงใคร หากกล่าวถึงผู้กระทำที่เป็น 目上の人 เราก็จะใช้ 尊敬形 แต่หากเรากล่าวถึงผู้ที่รับผลของการกระทำนั้น ก็จะใช้ 謙譲形 ค่ะ  敬語 ในส่วนนี้จะเรียกว่า 素材敬語 ซึ่งเราสามารถเลือกที่จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ค่ะ

            ต่อมาคือ 対者(聞き手)หรือก็คือคู่สนทนาของเรานั่นเองค่ะ ในกรณีของ 対者敬語 จะต่างจาก 素材敬語 ตรงที่เราจำเป็นต้องใช้ตลอดตามความเหมาะสมของคู่สนทนาค่ะ โดยหากคู่สนทนาเป็น 目上の人 เราก็จะใช้ 丁寧 แทน 普通形 ค่ะ 

            ตัวอย่าง
            ฮวีอินเล่าให้รุ่นพี่มุนบยอลฟังว่า อาจารย์โซลาร์จะไปญี่ปุ่น
            「先輩、知っていますか?ソラ先生は日本にいらっしゃるらしいですよ。」
                        เนื่องจากผู้ที่กล่าวถึงคืออาจารย์ ฮวีอินจึงใช้ 尊敬形 ของกริยา 行く ที่อาจารย์เป็นผู้
            กระทำกลายเป็น いらっしゃる ส่วนคู่สนทนาคือรุ่นพี่ ฮวีอินจึงใช้ です ที่เป็น丁寧 ของ だ ค่ะ 

สรุปออกมาเป็นภาพให้เข้าใจง่ายๆก็จะประมาณนี้ค่ะ

             ต่อมาเป็นเรื่องของ 独り言 ค่ะ

            独り言(ひとりごと)คือการพูดที่ไม่ต้องการผู้รับสาร หรือก็คือการพูดคนเดียวนั่นเองค่ะ อาจารย์บอกว่าการพูดในลักษณะนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น สังเกตได้จากการพูดว่า 「いただきます!」ก่อนรับประทานอาหารของคนญี่ปุ่น ไม่ว่าผู้ทำอาหารจะอยู่ตรงนั้นหรือไม่ก็ตาม ต่างจากคนเกาหลีที่จะพูดเฉพาะเวลาที่ผู้ทำอาหารอยู่ตรงนั้นด้วย เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณค่ะ

             นอกจากนี้ 独り言 มักจะปรากฏหลัง 裸の文末形式 และมักจะปลี่ยนสไตล์การพูดด้วย เช่น

            A:語尾に、関西の、関西アクセントが残ってます
            B:あ、そうかもしれない。それとあのー、でも ウ は[wu] なんですよー、

            จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า A และ B พูดคุยกันด้วยรูปสุภาพ แต่ B กลับเปลี่ยนไปใช้รูปธรรมในถ้อยความที่ว่า 「そうかもしれない」แสดงให้เห็นว่า B กำลังพูดกับตัวเอง จึงไม่จำเป็นต้องใช้รูปสุภาพนั่นเองค่ะ

            ในภาษาไทยเองก็มีเหมือนใช่มั้ยคะ อย่างตอนที่เรามาถึงมหาลัยแล้วพบว่าลืมพกการบ้านที่ต้องส่งในคาบมา เราก็อาจจะหลุดพูดออกมาว่า “เชี่ย! ลืม” ได้เหมือนกัน ซึ่งสิ่งที่เราพูดออกมานั้น เป็นการแสดงสิ่งที่คิดในใจออกมาเฉยๆ ไม่ได้พูดเพื่อบอกให้คนที่อยู่ข้างๆรู้ว่าเราลืมการบ้านค่ะ

            อย่างตอนที่เรากำลังเขียนบล็อกนี้ ก็ไม่ถือว่าเป็น 独り言 เพราะว่าเราต้องการจะสื่อสารกับผู้อ่านบล็อกทุกๆคนค่ะ ถ้าพูดถึง 独り言 ที่เจอในงานเขียนก็คงจะเป็นพวก 日記 มากกว่า เพราะเป็นการบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำวันของตัวเองค่ะ

            จากที่เราได้เรียนทั้งสองเรื่องในคาบที่ผ่านมา รู้สึกว่าได้เรียนรู้เกี่ยวกับการให้สำคัญต่อผู้รับสารมากขึ้นค่ะ

            อย่าง 敬語 ที่เป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงความยกย่องต่อคู่สนทนาหรือผู้ที่กล่าวถึง ดังนั้นการใช้ 敬語 มักจะเป็น 聞き手向けタイプ หรือก็คือเป็นการพูดที่มีผู้รับสารค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ 対者敬語 ที่เป็นการแสดงความยกย่องคู่สนทนา เพราะหากไม่มีผู้รับสารหรือคนที่สนทนาด้วย จะให้ใช้คำสุภาพคุยกับตัวเองก็กระไรอยู่ใช่มั้ยละคะ
            ตรงกันข้ามกับ 独り言 ที่เป็นการพูดคนเดียว ไม่มีผู้รับสาร จึงมักจะพบในรูปธรรมดา เพราะไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความสุภาพใดๆค่ะ (หรือถ้าอยากยกย่องตัวเองก็อาจจะได้มั้ง? เพื่อนที่ๆสงสัยก็ลองดูได้นะคะ แต่อย่าไปลองในที่ที่คนพลุกพล่านล่ะ)

― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ―

            ก็จบกันไปแล้วกับสาระ(ที่นานๆจะมีที)ในวันนี้นะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนนะคะ แล้วเจอกันใหม่ จะกลับมาพร้อมกับมามามูในเร็วๆนี้ค่ะ!!

Comments

  1. สาระแน่นดีมากกก แอบขายของเล็กน้อยแต่ไม่ว่ากัน แต่บล็อกสวยจังเลยทำไงเนี่ย อยากทำได้บ้างง

    ReplyDelete
  2. บล็อกสวยค่ะ สรุปได้กระชับและสนุก ต.ย.สงสัยว่าทำไมเป็นคนเกาหลี(ที่พูดญี่ปุ่น) น่ารักมากค่ะ

    ReplyDelete
  3. ชอบการทายอินมาก น่ารัก แล้วเข้าใจง่ายด้วยมันเห็นภาพดี

    ReplyDelete

Post a Comment