- Get link
- X
- Other Apps

สวัสดีค่าา วันนี้มาแบบไม่ได้แพลนไว้ 555555 จริงๆคิดว่าอาทิตย์นี้อาจจะไม่ได้อัพบล็อกเพราะงานกองเท่าภูเขา แต่เผอิ๊ญญญ นั่งดูคลิปเรียนภาษาอังกฤษของพี่ยงในช่อง "솔라시도 solarsido" แล้วนึกถึงเนื้อหาที่เพิ่งเรียนไปเมื่อวันจันทร์พอดี เลยคิดว่าจะมาเขียนบล็อกสั้นๆ แชร์ความรู้กันสักหน่อย
และเนื้อหาที่จะนำเสนอในวันนี้ก็คื๊อออออ...
クラッシェンが5つの仮説「モニターモデル」
สมมติฐาน 5 ข้อของคราเชน "Moniter Model"
1. 習得学習仮説(The acquisition-learning distinction)
สมมติฐาน 5 ข้อเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาที่สอง ของ สตีเฟ่น คราเชน (Stephen Krashen) ได้แก่
2. 自然習得順序仮説(The natural order hypothesis)
3. モニター仮説(The Monitor hypothesis)
4. インプット仮説(The input hypothesis)
5. 情意フィルター仮説(The Affective Filter hypothesis)
เชื่อว่าทุกคนในที่นี้ ง้ง! ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันไปทีละข้อดีกว่า
― ― ― ― ― ― ― ―
ในข้อนี้คราเชนได้กล่าวถึงความแตกต่างของ Acquisition (習得) และ Learning (学習) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำความเข้าใจทฤษฎีของเขาเลย
acquisition (n.) the process of getting something
【習得】 《名・ス他》習って覚え込むこと。
Acquisition ถ้าแปลตรงตัวก็คือกระบวนการในการได้มาซึ่งบางสิ่ง เมื่อนำมาใช้กับการเรียนภาษาก็จะหมายถึงกระบวนการรับรู้ภาษา เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยที่เราก็ไม่รู้ตัว (Subconscious Process)
learning (n.) the activity of obtaining knowledge
【学習】 《名・ス他》ならい学ぶこと。特に、学校などで系統的に勉強すること。
สรุปง่ายๆตามความเข้าใจของเราก็คือ Learning จะเป็นการเรียนแบบที่เราเรียนกันทุกวันนี้ มีครูสอน มีรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจน ในขณะที่ Acquisition เป็นการรับรู้ หรือการซึมซับความรู้ที่ไม่ได้เกิดจากการสอนโดยตรง แต่อาจเกิดจากการฟัง หรือการพูดคุยกันในชีวิตประจำวันค่ะ
และในสมมติฐานของคราเชน บอกไว้ว่า Acquisition มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ภาษาที่สองมากกว่า Learning ค่ะ
2. 自然習得順序仮説(The natural order hypothesis)
ในสมมติฐานนี้กล่าวถึงลำดับในการเรียนรู้ไวยากรณ์ของภาษาที่สองว่ามีไวยากรณ์ที่เรามักจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าไวยากรณ์อื่นๆอยู่ โดยที่ลำดับนั้นสามารถคาดเดาได้และมีความแน่นอน เรียกว่า Natural Order
ในงานวิจัยของคราเชนได้ยกตัวอย่างผลวิจัยของ Heidi Dulay และ Marina Burt เกี่ยวกับลำดับการรับรู้หน่วยของภาษา (Morpheme) ของเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองไว้ดังนี้
ในงานวิจัยของคราเชนได้ยกตัวอย่างผลวิจัยของ Heidi Dulay และ Marina Burt เกี่ยวกับลำดับการรับรู้หน่วยของภาษา (Morpheme) ของเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองไว้ดังนี้
「進行形(ing)・複数形(s)・be 動詞」
v
「助動詞としてのbe 動詞・冠詞」→「不規則動詞の過去形」
v
「規則動詞の過去形・三単現の"s"・所有格の"s"」
แต่ก็มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ Natural Order นี้เช่นกัน เช่นในกรณีของคนญี่ปุ่น มักจะเรียนรู้ไวยากรณ์ 所有格の"s" ได้ก่อน 複数形(s)เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้คำช่วย の เพื่อบอกความเป็นเจ้าของ แต่ไม่มีไวยากรณ์ที่ตรงกับการเติม s/es เพื่อบอกความเป็นพหูพจน์ในภาษาอังกฤษ จึงกล่าวได้ว่า Natural Order ของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลจากภาษาแม่ของตัวเองค่ะ
อย่างไรก็ตามคราเชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมมติฐานข้อนี้มากนัก เนื่องจากเขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ภาษาผ่านการรับรู้ (Acquisition) มากกว่าการเรียนรู้ภาษาโดยมีพื้นฐานจากไวยากรณ์ค่ะ
3. モニター仮説(The Monitor hypothesis)
สมมติฐานข้อนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ Acquisition และ Learning ค่ะ
'Acquisition is the utterance initiator.' คือการที่ทุกสิ่งที่เราพูดมาจากความรู้จากการรับรู้(Acquisition)
'Learning is the monitor.' คือการใช้ความรู้จากการเรียนรู้(Learning) ในการตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของการพูดนั้น
สรุปได้ว่า Monitoring function ก็คือการที่เราใช้ความรู้ทางไวยากรณ์ที่ได้เรียนมาในการแก้ไขการใช้ภาษาของเรา โดยอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการพูดก็ได้ ส่วนใหญ่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในภาษาที่สอง และมีบทบาทเป็นเพียงสิ่งที่ช่วยขัดเกลาคำพูดของเราเท่านั้น ในขณะที่ความรู้จากการรับรู้ต่างหากที่ถือเป็นความสามารถทางภาษาของเราจริงๆ
สมมติฐานนี้เป็นสิ่งที่อาจารย์สอนในคาบที่ผ่านมาและเป็นข้อที่สำคัญที่สุดในทฤษฎีของคราเชนค่ะ ซึ่งในข้อนี้เป็นการอธิบายว่าการเรียนรู้ภาษานั้น เกิดจากการรับข้อมูลที่ป้อนเข้ามาหรือก็คือ input (インプット) นั่นเอง
ดังนั้น input จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเรียนภาษาที่สอง ยิ่งมีเยอะก็ยิ่งดี แต่จะเยอะอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องเป็น input ที่ดีมีคุณภาพ หรือที่เรียกว่า Comprehensible Input (理解可能なインプット) ด้วย
Comprehensible Input ตามแนวคิดของคราเชน คือ input ที่สามารถเข้าใจได้ ไม่ยากไม่ง่ายเกินไป คราเชนเชื่อว่าเราจะสามารถรับรู้ภาษาได้ดีที่สุดจากการรับรู้ผ่าน input ที่มีความยากกว่าระดับความรู้ของเราเล็กน้อย ซึ่งก็คือ i + 1 โดยที่ i แทนระดับความรู้ของผู้เรียนค่ะ
สมมติฐานในข้อนี้ ทำให้เกิดวิธีการสอนภาษาที่สองที่น่าสนใจขึ้น ได้แก่ Natural Approach และ TPR (Total Physical Response) ซึ่งทั้งสองวิธีนี้เป็นการเลียนแบบการเรียนรู้ภาษาแม่ของเด็ก
Natural Approach เป็นการสอนภาษาผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ โดยจะใช้ภาษาเป้าหมายในการสื่อสารเท่านั้น(ห้ามใช้ภาษาแม่) และจะเน้นความเข้าใจในการสื่อสาร (Communication) มากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์ (Grammar)
TPR (Total Physical Response) เป็นการสอนให้ผู้เรียนฟัง(Listen) ดู(Watch) และเลียนแบบ(Imitate) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจับคู่สิ่งที่ได้ยินกับสิ่งที่เห็นแล้วทำตาม ก่อเกิดเป็นความเข้าใจ และสามารถพูดได้เอง
ในสมมติฐานสุดท้าย คราเชนได้กล่าวถึง The Affective Filter หรือ ตัวกรองที่มีประสิทธิภาพที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่สองค่ะ โดยภาวะทางอารมณ์(Emotional State) และทัศนคติ(Attitudes) เป็นตัวกรองที่ส่งผลต่อการรับข้อมูลทางภาษา หากตัวกรองมีประสิทธิภาพก็จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับ input ได้ดีขึ้นค่ะ
ซึ่งตัวกรองที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดของคราเชน ได้แก่ แรงจูงใจ (High Motivation) ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence) และความผ่อนคลาย (Low Anxiety)
― ― ― ― ― ― ― ―
เมื่อเราความเข้าใจทฤษฎีของคราเชนกันไปแล้ว ก็จะขอยกตัวอย่างการเรียนภาษาอังกฤษของพี่ยง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เรามาเขียนบล็อกในครั้งนี้กันค่ะ
แปะไว้เผื่อใครอยากดู มีซับอิ้งด้วยนะ แต่จริงๆก็พูดอิ้งกันทั้งคลิป ไม่ต้องอ่านซับก็เก้ท
v
v
First Lesson
Second Lesson
Third Lesson
สิ่งที่ทำให้เรานึกถึงเรื่องทฤษฎีของคราเชนขึ้นมา ก็คือลักษณะการสอนของแคท(ครูภาษาอังกฤษในคลิป) ที่เป็นการพูดคุยกันและการแสดงบทบาทสมมติ (Role play) นั่นเองค่ะ
ซึ่งตรงนี้เราคิดว่าค่อนข้างใกล้เคียงกับ Natural Approach สังเกตได้จากการที่ทั้งสองคนแทบจะไม่ใช้ภาษาเกาหลีเลยตลอดการเรียนการสอน และแคทเองก็สอนโดยเน้นการสื่อสารความหมายมากกว่าไวยากรณ์ที่ถูกต้อง เห็นได้จากการที่พี่ยงพูดผิดไวยากรณ์อย่างมหาศาล แต่ถ้ามันเข้าใจได้ แคทก็ไม่ได้แก้ให้

I've heard that before!

I don't like snake.
ภาษากายที่ใช้เองก็มีความสำคัญมาก บางคำแคทยังไม่ได้อธิบาย แต่พี่ยงก็เดาความหมายจากท่าทางของแคทได้ คล้ายกับการสอนที่เราเห็นในคลิป TPR ที่ครูพูดและทำท่าทางเพื่อให้เด็กสามารถจับคู่สิ่งที่ได้ยินกับภาพที่เห็น


นอกจากนี้ถึงแม้จะสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่ภาษาอังกฤษที่แคทใช้ก็เป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ พูดค่อนข้างช้าและชัด ทำให้พี่ยงฟังแล้วพอจะเข้าใจความหมายโดยรวมได้ จึงถือเป็น Comprehensible input (i+1)
ทั้งนี้การสอนของแคท อาจจะไม่เป็น Natural Approach หรือ TPR 100% แต่อาจด้วยความที่แคทเองเป็นครูสอนเด็กประถม ทำให้ลักษณะการสอน การเข้าถึงผู้เรียน มีความคล้ายกับการสอนภาษาแม่ให้เด็กค่ะ
และสุดท้ายสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาที่สองที่เห็นได้จากตัวพี่ยงเองก็คือ ความมุ่งมั่นในการเรียน ความมั่นใจ กล้าที่จะพูดและไม่กลัวที่จะผิด ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็น Affective Filter ของพี่ยงนั่นเองค่ะ
― ― ― ― ― ― ― ―
การเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ภาษา จะช่วยทำให้เราเรียนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หวังว่าความรู้ที่เรานำมาเสนอในวันนี้ จะช่วยทุกคนหาแนวทางในการเรียนภาษาที่สองของตัวเองได้นะคะ ตอนนี้เราก็ขอลาไปก่อน จะไปนั่งดูคลิปอื่นต่อ 555555 บัยค่าา
ที่มา: https://www.sk.com.br/sk-krash-english.html
https://englishhub.jp/sla/krashen-monitor-model
Comments
โหว สรุปให้ก่อนครูสอนอีก ขอบคุณนะคะ (เดี๋ยวฟังสัปดาห์หน้านะคะ อาจจะมาต่อเติมได้ ?)
ReplyDeleteเป็นการบูรณาการสิ่งที่ชอบกับการเรียนภาษาได้ลงตัวมาก ชอบค่ะ ไอดอลเลย
ReplyDeleteสรุปดีมากกก พรุ่งนี้ไม่ต้องมาเรียนแล้ว 555
ReplyDeleteโอโหวววว สรุปปังมาก ไม่ไปเรียนแล้วค่าา (ล้อเล่นค่าา)
ReplyDeleteสรุปออกมาได้ดีมากๆเลยค่ะ ภาษาก็เข้าใจง่าย สารภาพว่าตอนก่อนสอบก็แอบมาอ่านบล็อกนี้5555
ReplyDelete