- Get link
- X
- Other Apps

สวัสดีค่าา ช่วงนี้ก็จะเจอกันบ่อยๆหน่อยเนาะ
เพราะขยันเหรอ? เปล่าอ่ะ เพราะเดดไลน์ส่งบล็อกใกล้เข้ามาทุกทีต่างหาก 5555555555
ซึ่งนั่นก็คืออ
.
.
.
アウトプット仮説
The Output Hypothesis
จากที่เราเคยเล่าให้เพื่อนๆฟังเกี่ยวกับสมมติฐาน 5 ข้อของคราเชนเกี่ยวกับการเรียนภาษาที่สองไปแล้ว เพื่อนๆคงจะยังจำกันได้ว่าใน 5 ข้อนั้น มีสมมติฐานที่เรียกว่า インプット仮説 ที่กล่าวไว้ว่า"การเรียนรู้ภาษาจะเกิดจากการรับข้อมูลที่ป้อนเข้ามาหรือ Input"อยู่ ถ้าถามว่าเกี่ยวกันยังไงละก็... アウトプット仮説 เนี่ยเป็นสมมติฐานของ Merrill Swain ที่สร้างมาเพื่อแย้ง インプット仮説 ของคราเชนนั่นแหละค่ะ!!
โดยที่คุณ Merrill Swain (メリル・スウェイン) เนี่ยได้แย้งว่าในการเรียนรู้ภาษาที่สอง แค่ input อย่างเดียวน่ะไม่พอหรอก มันต้องมีการพูด การเขียน หรือก็คือ output ด้วย ซึ่งใน アウトプット仮説 นี้ คุณสเวนได้ยกองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนภาษาขึ้นมาด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่
1. Noticing function(気づき機能) คือการที่ผู้เรียนสามารถสังเกตถึงช่องว่าง (ギャップ) ระหว่างสิ่งที่ตนเองอยากจะสื่อสารออกไป (自分が伝えたいこと) กับสิ่งที่สื่อสารออกไปจริงๆ (自分の能力で伝えられること) เมื่อได้สร้าง output ออกไปแล้วนั่นเองค่ะ สเวนกล่าวว่าการที่เราสามารถรับรู้ถึงช่องว่างตรงนี้ จะช่วยให้เราเลือกรับ Input ที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
2. Hypothesis-testing function(仮説検証機能)คือการที่ผู้เรียนสร้าง output ใดๆก็ตาม มักจะสร้างโดยมีพื้นฐานจากกฎทางไวยากรณ์ที่ตนสร้างขึ้นมา ดังนั้นเพื่อทดสอบว่ากฎนั้นถูกต้องหรือไม่ จำเป็นต้องอาศัยปฏิกิริยาตอบรับของผู้ที่รับ output นั้นไป หากผู้ฟังหรือผู้อ่านมีท่าทางไม่เข้าใจสารที่เราสื่อ จะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่ากฎของเราผิด ก่อให้เกิดการแก้ไขจนกว่าจะถูกต้อง หรือก็คือสามารถสื่อสารได้ตามที่ต้องการค่ะ
3. Metalinguistic function(メタ言語的機能)คือการที่ผู้เรียนใช้ภาษาที่ได้เรียนผ่าน output โดยที่ผู้เรียนสามารถควบคุม จัดการภาษาได้ ผ่านมุมมองเหนือภาษา
เวลาที่เรารับ input เราจะมุ่งความสนใจไปที่ความหมายของภาษา
ในขณะที่เวลาที่เราสร้าง output เราจะมุ่งความสนใจไปที่ไวยากรณ์ หรือคำศัพท์
ดังนั้นการสร้าง output จะทำให้มุมมองของเราอยู่เหนือภาษาหนึ่งระดับ กล่าวคือเราจะทบทวนความรู้ทางภาษาที่ได้รับมาทั้งหมด และสรุปออกมาเป็นกฎว่าในเหตุการณ์เช่นนี้ควรใช้ไวยากรณ์หรือคำศัพท์แบบใด ซึ่งเป็นมุมมองที่มักจะไม่เกิดในการรับ input
สรุปอีกทีก็คือ มุมมองเหนือภาษา คือการที่เรามองเห็นกฎของภาษา หรือก็คือความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการใช้ (สถานการณ์ คู่สนทนา ฯลฯ) และ Metalinguistic function ก็คือการใช้มุมมองนี้ในการสร้าง output นั่นเอง
คำถามนี้เป็นสิ่งที่อาจารย์ถามขึ้นมาในคาบ ซึ่งคำตอบก็มีหลากหลาย บางคนมองว่า output สำคัญกว่า บางคนก็มองว่า input สำคัญกว่า จึงอาจพูดได้ว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต่างกันของผู้เรียน
สำหรับเรา เรามองว่า input สำคัญกว่า เพราะว่าภาพความสัมพันธ์ระหว่าง input และ output กับการเรียนภาษา ในหัวเราเป็นแบบนี้
input ⇒ การเรียนรู้ภาษา
output ⇒ การรับ input ที่เหมาะสม ⇒ การเรียนรู้ภาษา
ก็คือ input เพียวๆ เช่น การนั่งฟังคนอื่นพูด นั่งอ่านบทความอะไรไปเรื่อย ก็ทำให้เราซึมซับ และเรียนรู้ภาษาได้ แต่การสร้าง output เพียงอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ คิดภาพง่ายๆว่าหากเราเรียนคอนเวอ โดยที่วันๆเราเอาแต่สปีช โดยที่ไม่ได้รับฟีดแบคใดๆจากอาจารย์ มันก็เป็นแค่การพูดๆไป ไม่ได้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆใช่มั้ยล่ะคะ
และในกรณีที่ได้รับฟีดแบค ฟีดแบคนั้นก็ถือเป็น input อยู่ดี ดังนั้นเรามองว่าการเรียนรู้มันเกิดจากการรับ input ส่วนการสร้าง output มันเป็นตัวช่วยกรองว่าเรายังขาดความรู้ส่วนไหนและต้องการ input อะไรเพิ่มเติมนั่นเองค่ะ โดยส่วนตัวแล้ว การเรียนรู้ภาษาของเราเนี่ย เกิดจาก input 8 : output 2 เลยค่ะ
แน่นอนว่าช่วงกักตัวที่ต้องอยู่แต่บ้านแบบนี้ เราคงไม่ได้มีโอกาสไปสร้าง output อะไรมากมาย ดังนั้นก็เสพ input เข้าไปค่ะ!!
เนื่องด้วยเราเป็นคนที่ชอบดูรีแอคชั่นมากก แถมได้เรียนรู้คำศัพท์และได้เกร็ดความรู้ในเรื่องที่ไม่เคยสนใจมากมาย เลยมองว่า วิดีโอรีแอคชั่นเนี่ยมันก็เป็น input ที่ดี ทั้งต่อการเรียนภาษาและการเปิดโลกทัศน์ของเรา เลยอยากจะมาแชร์ช่องที่ชอบให้เพื่อนๆรู้จักกันค่ะ!
ช่องนี้เรียกได้ว่าช่องโปรดในดวงใจ เวลาแนะนำใครต้องแนะนำช่องนี้ก่อน! และบุคคลในภาพโปรไฟล์ก็คือ PD nim ของเราาา เย้ คือไม่รู้เหมือนกันว่าเขาชื่อไรนะ เรียกแต่พีดีๆ 55555
ความพิเศษของช่องนี้อยู่ที่ตัวพีดีนั่นแหละ ด้วยความที่ตัวเขาเองก็เป็นคนทำหนัง ทำคลิปอะไรแบบนี้อยู่แล้ว ทำให้มีความรู้ด้านภาพ ด้านเสียงเยอะ เวลารีแอคทีก็คือวิเคราะห์ตั้งแต่เนื้อหาในเพลงยันการปรับสี (Color grading) ได้ดูเขารีแอคก็ได้ความรู้ด้านนี้ไปเยอะเหมือนกัน
นอกจากนี้ศัพท์แต่ละคำที่พีดีใช้เนี่ยน้าา ทำเอาคนโง่อิ้งนั่งงงเป็นไก่ตาแตกเลยจ้า อย่างจะชมว่าเอ็มวีดีมากเนี่ย แค่ good fantastic ไรงี้ไม่ค่อยจะพูดหรอก ต้อง phenomenal ค่ะ! ก็เลยได้ศัพท์ไฮโซมาเยอะเหมือนกันจากดูรีแอคชั่นของเขา
ช่องนี้จะเป็นแก๊งนักเรียนดนตรีคลาสสิคค่ะ ดูช่องนี้ก็จะได้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีล้วนๆเลย รีแอคเพลงนึงก็จะมานั่งนับจังหวะ ดูเทคนิคการแต่งเพลง ดูโครงสร้างเพลงค่ะ อันนี้ก็จะชั้นสูงขึ้นมาก ฟังๆอยู่จะมีศัพท์เฉพาะอย่าง modulation falsetto อะไรงี้เยอะ ที่น่ารักคือปกติเวลาคนรีแอคเอ็มวีเคป็อป เขาก็จะหวีดไอดอลกันใช่มะ แต่ด้วยความที่พวกนางไม่ได้เป็นติ่งไอดอล แต่เป็นนักดนตรี เลยกลายเป็นหวีดเครื่องดนตรีแทน! แบบคนที่เล่นทรัมเป็ต ถ้าได้ยินเสียงทรัมเป็ตหรือมีทรัมเป็ตโผล่มาในเอ็มวี ก็คือกรี๊ดลั่น 55555555
ต่อไปเป็นคนญี่ปุ่นบ้าง อันนี้ค้นพบตอนติ่งไอศวรรย์ (IZ*ONE) เขาตลกดี อารมณ์แบบแก๊งแฟนบอยมานั่งหวีดไอดอล น่ารัก 55555555 อันนี้คือแค่พยายามฟังพวกนางพูดให้ทันก็ยากแล้ว ฟังให้ออกก็คือยากกว่า เพราะทั้งพูดแทบจะพร้อมกัน และชอบพูดแบบยากูซ่า(?)ด้วย ยิ่งตอนรีแอคอยู่แล้วมันต้องพูดพร้อมคลิป โอ้โห ถ้าแบ่งประสาทฟังได้ทั้งสองอย่างได้เมื่อไหร่ ก็คือสามารถเม้าท์กับเพื่อนระหว่างเรียนญี่ปุ่นได้โดยที่ฟังอาจารย์รู้เรื่องอ่ะ
จริงๆเราอยากหาช่องของคนญี่ปุ่นดูเยอะๆบ้าง แต่หาที่รีแอคสนุกๆยากมากเลย ดังนั้นใครมีช่องไหนแนะนำก็สามารถเม้นมาได้เลยนะคะ กราบบ
โดยที่คุณ Merrill Swain (メリル・スウェイン) เนี่ยได้แย้งว่าในการเรียนรู้ภาษาที่สอง แค่ input อย่างเดียวน่ะไม่พอหรอก มันต้องมีการพูด การเขียน หรือก็คือ output ด้วย ซึ่งใน アウトプット仮説 นี้ คุณสเวนได้ยกองค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนภาษาขึ้นมาด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่
1. Noticing function(気づき機能) คือการที่ผู้เรียนสามารถสังเกตถึงช่องว่าง (ギャップ) ระหว่างสิ่งที่ตนเองอยากจะสื่อสารออกไป (自分が伝えたいこと) กับสิ่งที่สื่อสารออกไปจริงๆ (自分の能力で伝えられること) เมื่อได้สร้าง output ออกไปแล้วนั่นเองค่ะ สเวนกล่าวว่าการที่เราสามารถรับรู้ถึงช่องว่างตรงนี้ จะช่วยให้เราเลือกรับ Input ที่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
2. Hypothesis-testing function(仮説検証機能)คือการที่ผู้เรียนสร้าง output ใดๆก็ตาม มักจะสร้างโดยมีพื้นฐานจากกฎทางไวยากรณ์ที่ตนสร้างขึ้นมา ดังนั้นเพื่อทดสอบว่ากฎนั้นถูกต้องหรือไม่ จำเป็นต้องอาศัยปฏิกิริยาตอบรับของผู้ที่รับ output นั้นไป หากผู้ฟังหรือผู้อ่านมีท่าทางไม่เข้าใจสารที่เราสื่อ จะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่ากฎของเราผิด ก่อให้เกิดการแก้ไขจนกว่าจะถูกต้อง หรือก็คือสามารถสื่อสารได้ตามที่ต้องการค่ะ
3. Metalinguistic function(メタ言語的機能)คือการที่ผู้เรียนใช้ภาษาที่ได้เรียนผ่าน output โดยที่ผู้เรียนสามารถควบคุม จัดการภาษาได้ ผ่านมุมมองเหนือภาษา
เวลาที่เรารับ input เราจะมุ่งความสนใจไปที่ความหมายของภาษา
ในขณะที่เวลาที่เราสร้าง output เราจะมุ่งความสนใจไปที่ไวยากรณ์ หรือคำศัพท์
ดังนั้นการสร้าง output จะทำให้มุมมองของเราอยู่เหนือภาษาหนึ่งระดับ กล่าวคือเราจะทบทวนความรู้ทางภาษาที่ได้รับมาทั้งหมด และสรุปออกมาเป็นกฎว่าในเหตุการณ์เช่นนี้ควรใช้ไวยากรณ์หรือคำศัพท์แบบใด ซึ่งเป็นมุมมองที่มักจะไม่เกิดในการรับ input
สรุปอีกทีก็คือ มุมมองเหนือภาษา คือการที่เรามองเห็นกฎของภาษา หรือก็คือความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการใช้ (สถานการณ์ คู่สนทนา ฯลฯ) และ Metalinguistic function ก็คือการใช้มุมมองนี้ในการสร้าง output นั่นเอง
"แล้วสรุป input หรือ output สำคัญต่อการเรียนภาษามากกว่ากัน?"
สำหรับเรา เรามองว่า input สำคัญกว่า เพราะว่าภาพความสัมพันธ์ระหว่าง input และ output กับการเรียนภาษา ในหัวเราเป็นแบบนี้
input ⇒ การเรียนรู้ภาษา
output ⇒ การรับ input ที่เหมาะสม ⇒ การเรียนรู้ภาษา
ก็คือ input เพียวๆ เช่น การนั่งฟังคนอื่นพูด นั่งอ่านบทความอะไรไปเรื่อย ก็ทำให้เราซึมซับ และเรียนรู้ภาษาได้ แต่การสร้าง output เพียงอย่างเดียวไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ คิดภาพง่ายๆว่าหากเราเรียนคอนเวอ โดยที่วันๆเราเอาแต่สปีช โดยที่ไม่ได้รับฟีดแบคใดๆจากอาจารย์ มันก็เป็นแค่การพูดๆไป ไม่ได้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆใช่มั้ยล่ะคะ
และในกรณีที่ได้รับฟีดแบค ฟีดแบคนั้นก็ถือเป็น input อยู่ดี ดังนั้นเรามองว่าการเรียนรู้มันเกิดจากการรับ input ส่วนการสร้าง output มันเป็นตัวช่วยกรองว่าเรายังขาดความรู้ส่วนไหนและต้องการ input อะไรเพิ่มเติมนั่นเองค่ะ โดยส่วนตัวแล้ว การเรียนรู้ภาษาของเราเนี่ย เกิดจาก input 8 : output 2 เลยค่ะ
― ― ― ― ― ― ― ―
แน่นอนค่ะว่าถ้าไม่ขายของมันก็จะผิดคอนเซปต์บล็อกเรา
เพราะฉะนั้นจะขายค่ะ!!
และสินค้าที่จะนำมาเสนอให้กับเพื่อนๆในวันนี้ก็คืออ
.
.
.
Reaction Channel
input คุณภาพ แก้เหงายามกักตัวค่าาา
แน่นอนว่าช่วงกักตัวที่ต้องอยู่แต่บ้านแบบนี้ เราคงไม่ได้มีโอกาสไปสร้าง output อะไรมากมาย ดังนั้นก็เสพ input เข้าไปค่ะ!!
เนื่องด้วยเราเป็นคนที่ชอบดูรีแอคชั่นมากก แถมได้เรียนรู้คำศัพท์และได้เกร็ดความรู้ในเรื่องที่ไม่เคยสนใจมากมาย เลยมองว่า วิดีโอรีแอคชั่นเนี่ยมันก็เป็น input ที่ดี ทั้งต่อการเรียนภาษาและการเปิดโลกทัศน์ของเรา เลยอยากจะมาแชร์ช่องที่ชอบให้เพื่อนๆรู้จักกันค่ะ!

Form of Therapy
ช่องนี้เรียกได้ว่าช่องโปรดในดวงใจ เวลาแนะนำใครต้องแนะนำช่องนี้ก่อน! และบุคคลในภาพโปรไฟล์ก็คือ PD nim ของเราาา เย้ คือไม่รู้เหมือนกันว่าเขาชื่อไรนะ เรียกแต่พีดีๆ 55555
ความพิเศษของช่องนี้อยู่ที่ตัวพีดีนั่นแหละ ด้วยความที่ตัวเขาเองก็เป็นคนทำหนัง ทำคลิปอะไรแบบนี้อยู่แล้ว ทำให้มีความรู้ด้านภาพ ด้านเสียงเยอะ เวลารีแอคทีก็คือวิเคราะห์ตั้งแต่เนื้อหาในเพลงยันการปรับสี (Color grading) ได้ดูเขารีแอคก็ได้ความรู้ด้านนี้ไปเยอะเหมือนกัน
นอกจากนี้ศัพท์แต่ละคำที่พีดีใช้เนี่ยน้าา ทำเอาคนโง่อิ้งนั่งงงเป็นไก่ตาแตกเลยจ้า อย่างจะชมว่าเอ็มวีดีมากเนี่ย แค่ good fantastic ไรงี้ไม่ค่อยจะพูดหรอก ต้อง phenomenal ค่ะ! ก็เลยได้ศัพท์ไฮโซมาเยอะเหมือนกันจากดูรีแอคชั่นของเขา

ReacttotheK
ช่องนี้จะเป็นแก๊งนักเรียนดนตรีคลาสสิคค่ะ ดูช่องนี้ก็จะได้ความรู้เกี่ยวกับดนตรีล้วนๆเลย รีแอคเพลงนึงก็จะมานั่งนับจังหวะ ดูเทคนิคการแต่งเพลง ดูโครงสร้างเพลงค่ะ อันนี้ก็จะชั้นสูงขึ้นมาก ฟังๆอยู่จะมีศัพท์เฉพาะอย่าง modulation falsetto อะไรงี้เยอะ ที่น่ารักคือปกติเวลาคนรีแอคเอ็มวีเคป็อป เขาก็จะหวีดไอดอลกันใช่มะ แต่ด้วยความที่พวกนางไม่ได้เป็นติ่งไอดอล แต่เป็นนักดนตรี เลยกลายเป็นหวีดเครื่องดนตรีแทน! แบบคนที่เล่นทรัมเป็ต ถ้าได้ยินเสียงทรัมเป็ตหรือมีทรัมเป็ตโผล่มาในเอ็มวี ก็คือกรี๊ดลั่น 55555555

ミンジーズ
ต่อไปเป็นคนญี่ปุ่นบ้าง อันนี้ค้นพบตอนติ่งไอศวรรย์ (IZ*ONE) เขาตลกดี อารมณ์แบบแก๊งแฟนบอยมานั่งหวีดไอดอล น่ารัก 55555555 อันนี้คือแค่พยายามฟังพวกนางพูดให้ทันก็ยากแล้ว ฟังให้ออกก็คือยากกว่า เพราะทั้งพูดแทบจะพร้อมกัน และชอบพูดแบบยากูซ่า(?)ด้วย ยิ่งตอนรีแอคอยู่แล้วมันต้องพูดพร้อมคลิป โอ้โห ถ้าแบ่งประสาทฟังได้ทั้งสองอย่างได้เมื่อไหร่ ก็คือสามารถเม้าท์กับเพื่อนระหว่างเรียนญี่ปุ่นได้โดยที่ฟังอาจารย์รู้เรื่องอ่ะ
จริงๆเราอยากหาช่องของคนญี่ปุ่นดูเยอะๆบ้าง แต่หาที่รีแอคสนุกๆยากมากเลย ดังนั้นใครมีช่องไหนแนะนำก็สามารถเม้นมาได้เลยนะคะ กราบบ
วันนี้ก็ขอจบการเขียนบล็อกแต่เพียงเท่านี้
ขอให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรง
ผ่านพ้นช่วงกักตัวไปได้อย่างแฮพพิเด้ออ
ผ่านพ้นช่วงกักตัวไปได้อย่างแฮพพิเด้ออ
― ― ― ― ― ― ― ―
Comments
ขอให้ form of theray ช่วยเยียวยาจิตใจนะคะ สำหรับการที่ต้องเรียนวิชาที่มีแต่ output (泣)
ReplyDelete//มือป้องปาก
Deleteขอบคุณสำหรับสรุปที่อ่านง่ายนะคะ🥺 เห็นด้วยเลยค่ะเพราะเราก็ชอบ input มากกว่าy___y เรามองว่า output ก็ดี แต่ถ้าเราไม่ได้ input มาก่อน เราก็ไม่สามารถจะ output ออกมาได้ (อาจจะได้ใช้สกิลเดิมที่มี ได้รู้ว่าที่รู้มันถูกมั้ย แต่ก็ไม่ได้สกิลใหม่ๆเพิ่ม...)
ReplyDeleteช่อง React!!! ไปตามดูมาแล้วค่ะ สุดยอดมั่กๆๆ ช่องชั้นสูงทั้งนั้น! แต่คุน PD ไม่ทำเพลงใหม่วงเรา ฮือออออ เปนเส้า / อยากแนะนำช่องบ้างจังค่ะ แต่สารภาพว่าดูแต่ช่องนนร.55555
ประทับใจเนื้อหา อ่านง่ายมากฮะ
ReplyDelete