📔End of "This" Journey

🍀タスク①「漢語」

            สวัสดีค่าา วันนี้เรา(ยัง)ไม่ได้มาขายของแต่อย่างใด แต่จะมาเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนในคาบที่ผ่านมาค่ะ

            เนื่องจากเราแอบโดดไปเมื่อสัปดาห์แรก คาบที่สองนี้จึงถือเป็นคาบแรกของเรา ซึ่งก็ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์กนกวรรณมากๆ ที่ทวนเนื้อหาคาบแรกให้ด้วย ทำให้พอจะเข้าใจคอนเซปต์ของภาษาศาสตร์ประยุกต์ที่เราจะเรียนกันในเทอมนี้

            หลังจากที่ทบทวนเนื้อหาคร่าวๆ อาจารย์ก็เปิดผลแบบสอบถามเกี่ยวกับหัวข้อที่ทุกคนอยากเรียนในเทอมนี้กัน ผลก็คือ การพูดหรือเขียนแสดงความคิดเห็นให้ดูฉลาด เป็นหัวข้อที่เพื่อนๆอยากเรียนกันมากที่สุด

            ตอนแรกที่เราเห็นหัวข้อก็รู้สึกประทับใจกับคำว่า “ให้ดูฉลาด” มาก และคิดว่าเพื่อนๆก็น่าจะโดนล่อซื้อด้วยคำนี้เช่นเดียวกัน แม้ว่าในความเป็นจริงนั้น ทุกคนเองก็ยังไม่แน่ใจกันเลยว่าคำว่าฉลาดในที่นี้หมายถึงอะไร มีขอบเขตแค่ไหน (อาจารย์เองก็แอบบอกว่าไม่แน่ใจเหมือนกัน 555) สุดท้ายอาจารย์เลยเลือกเรื่องการใช้ 漢語 มาสอนเป็นอันดับแรก ซึ่งเราจะมาพูดคุยกันในบทความนี้ค่ะ

― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ―

            漢語(かんごคือคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาจีน ประกอบด้วยตัวอักษรคันจิและจะอ่านออกเสียงแบบจีน(音読みเช่น 規則(きそく)、重量(じゅうりょう)、五分五分(ごぶごぶ

             เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดระดับความรู้ทางภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นหากเราสามารถใช้  แทน ได้ ก็จะทำให้การพูดหรือการเขียนของเราดูฉลาดขึ้นได้

“แล้วการใช้ 語 จะสามารถแสดงให้เห็นถึงระดับความรู้ทางภาษาได้ยังไง?”

            หลังจากที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราก็เลยลองไปค้น 語 ที่ใช้บ่อยๆในชีวิตประจำวันดู ก็ไปเจอตารางแสดงว่า 語 สามารถแทนด้วย 語 ใดได้บ้าง ปรากฏว่า 語 1 คำ กลับมี 語 ที่ใช้แทนกันได้เยอะมากๆ เช่น

                      返す(かえすสามารถแทนด้วย 復元(ふくげんหรือ 返却(へんきゃくได้
                      ถึงแม้ว่าทั้งสองคำจะใช้แทนคำว่า 返す ได้เหมือนกัน แต่จะใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน
                      復元(ふくげんจะใช้ในความหมายว่า 元の状態に戻す กลับสู่สภาพเดิม
                      返却(へんきゃくจะใช้ในความหมายว่า 元の場所に戻す กลับสู่ที่เดิม
                      ( 返却 มักใช้ในบริบท ของการคืนสิ่งของที่ยืมมา)

            จะเห็นได้ว่า 語 จะมีความหมายที่เฉพาะเจาะจงกว่า  ดังนั้นการเลือกใช้ 語 ให้เหมาะสม จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ว่าคำศัพท์นั้นใช้ในบริบทใด รวมไปถึงอารมณ์ความรู้สึกที่แฝงอยู่ในคำศัพท์ด้วย


― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ― ―

 “ถึงแม้การจำ จะยากและทรมานมาก
แต่ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาภาษาญี่ปุ่นของพวกเรามากเช่นกัน
ดังนั้นเริ่มจากการท่องทีละนิด ฝึกใช้บ่อยๆ
แล้วพวกเราทุกคนจะดูฉลาดขึ้นไปด้วยกันค่ะ”


Comments

  1. ดีจังที่ไปค้นหาคำศัพท์มาเพิ่มด้วย

    ReplyDelete

Post a Comment